ผลงาน ของ ศรีนิวาสะ รามานุชัน

ตลอดช่วงชีวิตอันแสนสั้น รามานุจันสร้างผลงานของตนเองทั้งสิ้นเกือบ 4,000 รายการ (ส่วนมากเป็นเอกลักษณ์หรือสมการ)[4] บางส่วนในจำนวนนี้ซึ่งเป็นจำนวนน้อยมาก มีบางส่วนที่ผิด และบางส่วนก็มีผู้ค้นพบไปแล้ว แต่งานส่วนใหญ่ได้รับการพิสูจน์ว่าถูกต้อง[5] ผลงานเหล่านั้นเป็นงานที่สร้างขึ้นใหม่ มีความแปลกประหลาดอย่างยิ่ง เช่น จำนวนเฉพาะรามานุจัน และ ฟังก์ชันทีตาของรามานุจัน งานเหล่านี้สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการวิจัยต่อยอดขึ้นไปอีกเป็นจำนวนมหาศาล[6] อย่างไรก็ดี การค้นพบชิ้นสำคัญของเขาบางส่วนก็เข้าสู่คณิตศาสตร์กระแสหลักค่อนข้างช้า เช่นเมื่อไม่นานมานี้ เพิ่งมีการค้นพบว่าสามารถนำสมการของรามานุจันไปประยุกต์ใช้กับ crystallography และ ทฤษฎีสตริง ได้[ต้องการอ้างอิง] วารสารนานาชาติ ชื่อ Ramanujan Journal จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานคณิตศาสตร์ทุกแขนงที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเขา[7]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ศรีนิวาสะ รามานุชัน http://intranet.woodvillehs.sa.edu.au/pages/resour... http://www.cecm.sfu.ca/organics/papers/borwein/pap... http://devbenegal.com/2006/03/15/feature-film-on-m... http://www.hindu.com/2003/12/22/stories/2003122204... http://www.hindu.com/mag/2004/12/26/stories/200412... http://www.hindu.com/thehindu/br/2003/08/26/storie... http://www.hindu.com/thehindu/mag/2002/12/22/stori... http://www.hinduonnet.com/fline/fl1617/16170810.ht... http://www.hinduonnet.com/folio/fo0102/01020480.ht... http://www.thehindu.com/life-and-style/metroplus/a...